สาเหตุหลักที่ผู้หญิงไม่กล้าไปให้แพทย์ตรวจ แปปสเมียร์ เพราะความอายและความกลัว ซึ่งเป็นที่น่าเสียดาย เพราะถือว่าเป็นการสูญเสียโอกาสที่จะค้นพบโรคต่างๆ ในระยะเริ่มแรก และสามารถทำการรักษาให้หายขาดได้โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูก
ในปัจจุบ้นสถาบันมะเร็งแห่งชาติมีนโยบายระดับชาติในการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ให้กับหญิงไทยในอายุ 35 - 60 ปี ทุกๆ 5 ปี เป็นนโยบายเชิงรุกซึ่งจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยได้ เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนา ไทยมีอัตราการตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกสูง อย่างไรก็ตามการไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสมำเสมออาจมีระยะห่างที่แตกต่างกันในบางราย ขึ้นอยู่กับตามคำแนะนำของแพทย์ และเนื่องจากประชาชนยังเข้าถึงการให้บริการด้านสาธารณสุขไม่เพียงพอ การค้นพบของศาสตราจารย์เฮาเซนซึ่งนำไปสู่การคิดค้นวัคซีนจะช่วยในการวางแผนเพื่อลดโรคมะเร็งปากมดลูกในอนาคตได้อีกทางหนึ่ง
สามารถตรวจคัดกรองหรือตรวจหามะเร็งปากมดลูกได้อย่างไร?
1. การตรวจภายใน หากพบก้อนผิดปกติที่ปากมดลูก แพทย์จะตรวจยืนยันโดยการตัดชิ้นเนื้อบางส่วนไปส่งตรวจทางพยาธิวิทยา 2. การตรวจทางเซลล์วิทยา หรือ “แปปสเมียร์” หรือ “แปปเทส” เป็นการตรวจภายในร่วมกับการเก็บเอาเซลล์บริเวณปากมดลูกไปตรวจทางเซลล์วิทยา การเตรียมตัวก่อนรับการตรวจแปปสเมียร์อย่างไร? · ไม่ควรมีการตรวจภายในมาก่อน 24 ชั่วโมง · ห้ามสวนล้างภายในช่องคลอดมาก่อน 24 ชั่วโมง · งดการมีเพศสัมพันธ์คืนวันก่อนมารับการตรวจภายใน · ไม่ควรเหน็บยาใด ๆ ในช่องคลอดมาก่อน 48 ชั่วโมง · ควรมารับการตรวจมะเร็งหลังประจำเดือนหมดแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่ไม่มีประจำเดือนแล้วให้มาได้ตามสะดวก 3. การตรวจด้วยกล้องขยาย หรือ คอลโปสโคป ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา 4. การตรวจอื่นๆ ที่อาจช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ การขูดภายในปากมดลูก การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น